ให้ผู้เรียนจัดทำโดยนำกระบวนการศึกษาทางประวัติศาสตร์มาใช้ 4 กระบวนการ ประกอบด้วย
ขั้นตอนที่ ๑ การตั้งประเด็นที่จะศึกษา 
ขั้นตอนที่ ๒ สืบค้นและรวบรวมข้อมูล ข้อมูลทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนที่ ๓ การคัดเลือกและประเมินข้อมูล
ขั้นตอนที่ ๔  การวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์

จากกระบวนการทางประวัติศาสตร์ข้างต้น โดยคร่าวแล้วหนังสือของนักศึกษาควรจะมีกระบวนการทางประวัติศาสตร์ 
  ในส่วนแรก
การตั้งประเด็นที่จะศึกษา
   หนังสือของนักศึกษาควรจะบอกที่มาและความสำคัญในการเลือกหัวข้อ ประเด็น หรือสถานที่ต่างๆที่เราศึกษา เนื่องจากอะไรบ้าง รวมถึงเกี่ยวข้องอย่างไรกับรายวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย

แนวการเขียนที่มาและความสำคัญของเด็นที่สนใจ
(1.สภาพปัจจุบัน เป็นการบรรยายสภาพทั่วไปของสิ่งที่สนใจจะศึกษา)
(2.ประเด็นที่สนใจหรือปัญหาในข้อประเด็นที่เราสงสัย เป็นการบรรยาย
ข้อประเด็นที่เราสงสัยของสิ่งที่สนใจจะศึกษา)
(3.สาเหตุของ
ข้อประเด็นที่เราสงสัย เป็นการบรรยายถึงสาเหตุที่นำมาซึ่งข้อประเด็นที่เราสงสัยที่เราจะศึกษา )
(4.แนวทางแก้ไข
ข้อประเด็นที่เราสงสัย เป็นการบรรยายถึงแนวทางกระบวนการที่เราจะนำมาใช้ในการหาข้อสรุปประเด็นที่เราสงสัย(ใช้ 5 -ขั้นตอนทางประวัติศาสตร์อย่างไร))
(5.การสรุปที่มาและความสำคัญ
ข้อประเด็นที่เราสงสัย โดยอาจสรุปได้ว่า”คณะผู้จัดทำจึงมีความประสงค์ที่ศึกษาเรื่องดังกล่าว )

  ในส่วนที่สอง
การสืบค้นและการรวบข้อมูลทางประวัติศาสตร์
    หนังสือของนักศึกษาเป็นการเล่าเรื่อง การได้มาซึ่งหลักฐาน กระบวนการหาข้อมูลของกลุ่มนักศึกษา แหล่งที่มาของข้อมูล  และนำเสนอหลักฐานต่าง ๆ ว่ามีหลักฐานอะไรบ้าง หลักฐานชั้นต้น หลักฐานชั้นรอง เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น การลงพื้นที่จริง ได้ข้อมูลอะไรบ้าง รวมถึงแหล่งข้อมูลอื่น ๆ 

ตัวอย่างการนำเสนอหลักฐาน


จารึกพ่อขุนรามคำแหง หรือ จารึกหลักที่ 1 เป็นศิลาจารึกที่บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัย ศิลาจารึกนี้ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ขณะผนวชอยู่เป็นผู้ทรงค้นพบเมื่อวันกาบสี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 จ.ศ. 1214 ตรงกับวันศุกร์ที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1834 หรือ พ.ศ. 2376 ณ เนินปราสาทเมืองเก่าสุโขทัย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย มีลักษณะเป็นหลักสี่เหลี่ยมด้านเท่า ทรงกระโจม สูง 111 เซนติเมตร หนา 35 เซนติเมตร เป็นหินทรายแป้งเนื้อละเอียด มีจารึกทั้งสี่ด้าน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
เนื้อหาของจารึกแบ่งได้เป็นสามตอน ตอนที่หนึ่ง บรรทัดที่ 1 ถึง 18 เป็นการเล่าพระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราชตั้งแต่ประสูติจนเสวยราชย์ 


ในส่วนที่สาม

วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์(การคัดเลือกและการประเมินข้อมูล)

    วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ วิธีการหรือกระบวนการในการตรวจสอบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพื่อเป็นการประเมินค่าของข้อสนเทศที่ปรากฎอยู่ในหลักฐานทั้งภายในและภายนอกว่ามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากน้อยเพียงใด และเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด

    การตรวจสอบภายนอกหรือการวิพากษ์หลักฐาน คือ การตรวจสอบลักษณะภายนอกของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ดังตัวอย่างของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทลายลักษณ์อักษร เช่น พระราชพงศาวดารในสมัยอยุธยา การตรวจสอบภายนอกก็คือ การตรวจดูว่าเป็นตัวอักษรลักษณะแบบใด เป็นตัวอักษรที่ใช้ในสมัยอยุธยาหรือไม่ ดังนั้นจึงสามารถสรุปความหมายของการวิพากษ์หลักฐานหรือการวิพากษ์ภายนอกได้ว่า “ คือ การพิจารณาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ด้วยการสังเกตุจากภายนอกเป็นอันดับแรก โดยอาศัยหลักพิจารณาอยู่ 5 ประการด้วยกัน คือ
  1.  อายุของหลักฐาน
  2. สภาพแวดล้อมที่หลักฐานถูกสร้างขึ้น
  3. ผู้สร้างหลักฐาน
  4. จุดมุ่งหมาย 
  5. รูปเดิมของหลักฐาน
    ส่วนการตรวจสอบภายในหรือการวิพากษ์ข้อสนเทศของพระราชพงศาวดารฉบับนี้ ก็คือ การศึกษาเนื้อหาในพระราชพงศาวดารทั้งหมดว่าบอกเกี่ยวกับเรื่องอะไร หมายความว่าอย่างไร ตลอดจนถึงศึกษาลึกลงไปว่าผู้เขียนเขียนขึ้นเพื่อหวังสิ่งใด เขียนขึ้นโดยอยู่บนความยุติธรรมหรือไม่ ดังนั้นการตรวจสอบภายในหรือการวิพากษ์ข้อสนเทศจึงหมายถึง การพยายามตีความหลักฐานและประเมินคุณค่าของข้อสนเทศที่ปรากฎอยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้นๆ นั่นเอง

   ในส่วนที่สี่หนังสือของนักศึกษา 

การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ทางประวัติศาสตร์

   เมื่อผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ได้พิจารณาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ขั้นตอนการวิพากษ์หลักฐาน การวิพากษ์ข้อสนเทศ การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งในขั้นต้นและขั้นลึกไปแล้ว สิ่งสุดท้ายที่จะพิจารณาในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ก็คือการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ทางประวัติศาสตร์
    จากหลักฐานทางโบราณคดี ศิลปสถาปัตยกรรม ตลอดจนตำนาน พงศาวดาร ฯลฯ ที่ค้นพบในภาคเหนือของประเทศไทย นักวิชาการได้ศึกษาผ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว แล้วลำดับเรื่องราวของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในภาคเหนือช่วงสมัยพญามังรายได้ว่า พญามังราย ได้สร้างเมืองเชียงใหม่หรือ “ นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ” ให้เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา ใน พ.ศ. 1839 และได้ขยายอำนาจไปไกลจนถึงเชียงตุง เชียงรุ่ง และสิบสองปันนา พร้อมกับกวาดต้อนผู้คนให้มาเป็นพลเมืองในเมืองเชียงใหม่เป็นจำนวนมาก หลังรัชกาลของพญามังรายได้มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งพระนามว่าพญาแสนพู ทรงได้สร้างเมืองเชียงแสนให้เป็นเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งอาจถือว่าเป็นราชธานีแห่งที่สองของอาณาจักรล้านนาก็ว่าได้
    ต่อมาในสมัยของพญาถือนาได้รับพระพุทธศาสนานิกายรามัญวงศ์(ลังกาวงศ์เก่า) จากเมืองสุโขทัยซึ่งตรงกับสมัยพระยาลิไท มาสืบพุทธศาสนาในเมืองเชียงใหม่และทรงโปรดให้สร้างวัดสวนดอกไม้ หรือวัดบุปผารามให้เป็นที่ประดิษฐานของพระสังฆราช และเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนานิกายรามัญวงศ์สืบต่อมา จากการที่นักวิชาการได้ศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนาผ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งในส่วนที่เป็นเอกสารและสิ่งก่อสร้าง จนสามารถเรียบเรียงเป็นเรื่องราวซึ่งใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุดนี้ เรียกว่า “ การสังเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ ” ฉะนั้นการสังเคราะห์ทางประวัติศาสตร์จึงหมายถึง การเอาข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกัน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาเกี่ยวพันให้เกิดความสัมพันธ์กันขึ้นนั่นเอง

    แต่ถ้าหากเจาะลึกลงไปเพื่อหาคำตอบที่ว่าทำไมพญามังรายถึงต้องสร้างนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ให้เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา หรือทำไมพญาแสนพูต้องเสด็จไปประทับอยู่ที่เชียงแสนตลอดพระชนม์ชีพนั้น นักวิชาการได้เสนอข้อเท็จจริงไว้ว่าการที่พญามังรายสร้างนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ขึ้น เนื่องจากมีชัยภูมิดีและเป็นการย้ายเมืองใหม่จากเวียงกุมกาม ซึ่งเกิดน้ำท่วมทุกปีในช่วงฤดูน้ำหลากมาไว้ที่แห่งใหม่ ซึ่งอุดมสมบูรณ์และป้องกันข้าศึกได้ดีกว่า และการที่พญาแสนพูต้องเสด็จมาประทับอยู่เมืองเชียงแสน จนทำให้เมืองนี้มีบทบาทเกือบเท่าเมืองเชียงใหม่ นักวิชาการได้เสนอไว้ว่าเป็นเพราะต้องการป้องกันกำลังของพม่าที่มีกำลังพลมากทางเมืองเชียงแสน การเจาะลึกถึงสาเหตุดังกล่าวของนักวิชาการดังได้ยกเป็นตัวอย่างเรียกว่า “การวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์”
     สรุป  คือ ส่วนสุดท้ายของหนังสือเราจะต้องตอบคำถามในประเด็นที่เราตั้งมา โดยอาศัยผลของคำตอบจากหลักฐานที่เราหามาได้ว่าบ่งชี้ หรือเชื่อมโยงไปในทิศทางที่เราตั้งข้อสงสัยไว้หรือไม่อย่างไร

นอกจากห้าส่วนที่กล่าวมาแล้วควรจะจัดทำหนังสือ ให้มีส่วนประกอบ คือ หน้าปก คำนำ สารบัญ อ้างอิง
หมายเหตุ1 : แหล่งอ้างอิง (หากเป็นเว็บไซต์ควรเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ)
หมายเหตุ2 : ปกหนังสือควรจะจัดทำในลักษณะดังต่อไปนี้