สาระการเรียนรู้
๑.การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย๒.การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย
๓.สภาพทางเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย
๔.สภาพทางสังคมสมัยสุโขทัย
๕.วัฒนธรรมและศิลปะสมัยสุโขทัย
จุดประสงค์การเรียนรู้
๑.อธิบายเกี่ยวกับการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยได้๒.อธิบายรูปแบบและลักษณะการเมืองการปกครองสมัยสุโขทัยได้
๓.อธิบายสภาพทางเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยได้
๔.อธิบายสภาพทางสังคมสมัยสุโขทัยได้
๕.อธิบายวัฒนธรรมและศิลปะสมัยสุโขทัย
จุดประสงค์การเรียนรู้ได้
สมรรถนะประจำหน่วย
แสดงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยสมัยสุโขทัยหน่วยที่ ๒
ที่ตั้งและอาณาเขต
อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ มีเมืองแพล (ปัจจุบันคือแพร่) เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด
ทิศใต้ มีเมืองพระบาง (ปัจจุบันคือนครสวรรค์) เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้
ทิศตะวันตก มีเมืองฉอด (ปัจจุบันคือแม่สอด) เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อเข้าไปยังอาณาจักรมอญ
ทิศตะวันออก มีเมืองสะค้าใกล้แม่น้ำโขงในเขตภาคอีสานตอนเหนือ
การปกครองกรุงสุโขทัย
1. แบบพ่อปกครองลูก พระมหากษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดแบบเครือญาติ
เรียกพระมหา กษัตริย์ว่า พ่อขุน
2. แบบธรรมราชา พระมหากษัตริย์ เป็นแบบอย่างของธรรมราชา เรียกพระมหากษัตริย์ว่า
2. แบบธรรมราชา พระมหากษัตริย์ เป็นแบบอย่างของธรรมราชา เรียกพระมหากษัตริย์ว่า
พระมหาธรรมราชา
ราชวงศ์นำถุม (ราชวงศ์ผาเมือง)
- พ่อขุนศรีนาวนำถุม ครองราชย์ปีใดไม่ปรากฏ - พ.ศ. 1724
ขอมสบาดโขลญลำพง
- ขอมสบาดโขลญลำพง (พ.ศ. 1724 - พ.ศ. 1780)
ราชวงศ์พระร่วง
- พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ.ศ. 1780- สวรรคตปีใดไม่ปรากฏ (ประมาณ พ.ศ. 1801) )
- พ่อขุนบานเมือง (หลังพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคต - พ.ศ. 1822)
- พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พ.ศ. 1822 - พ.ศ. 1842) (ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา
เรียกว่า พ่อขุนรามราช)
- ปู่ไสสงคราม (รักษาราชการชั่วคราวแทน พญาเลอไท ซึ่งขณะนั้นไม่ได้อยู่ในเมืองสุโขทัย)
- พญาเลอไท (พ.ศ. 1842 - พ.ศ. 1833)
- พญางั่วนำถุม (พ.ศ. 1833 - พ.ศ. 1890)
- พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) (พ.ศ. 1890 - พ.ศ. 1913)
- พระมหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไท) (พ.ศ. 1913 - พ.ศ. 1931)
- ปู่ไสสงคราม (รักษาราชการชั่วคราวแทน พญาเลอไท ซึ่งขณะนั้นไม่ได้อยู่ในเมืองสุโขทัย)
- พญาเลอไท (พ.ศ. 1842 - พ.ศ. 1833)
- พญางั่วนำถุม (พ.ศ. 1833 - พ.ศ. 1890)
- พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) (พ.ศ. 1890 - พ.ศ. 1913)
- พระมหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไท) (พ.ศ. 1913 - พ.ศ. 1931)
(ตกเป็นประเทศราชของอยุธยาในปี พ.ศ. 1921)
- พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไท) (พ.ศ. 1931 - พ.ศ. 1962)
- พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) (พ.ศ. 1962 - พ.ศ. 1981)
- พระยายุทธิษฐิระ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2011) (เป็นประเทศราชล้านนาในปี พ.ศ. 2011)
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
- สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 2011 - พ.ศ. 2031) (สถาปนา และประทับ ณ พิษณุโลก
- พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไท) (พ.ศ. 1931 - พ.ศ. 1962)
- พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) (พ.ศ. 1962 - พ.ศ. 1981)
- พระยายุทธิษฐิระ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2011) (เป็นประเทศราชล้านนาในปี พ.ศ. 2011)
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
- สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 2011 - พ.ศ. 2031) (สถาปนา และประทับ ณ พิษณุโลก
จนสิ้นรัชกาล)
- พระเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2031 - พ.ศ. 2034) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา)
- พระอาทิตยวงศ์ (พระหน่อพุทธางกูร) (พ.ศ. 2034 - พ.ศ. 2072) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา)
- พระไชยราชา (พ.ศ. 2072 - พ.ศ. 2077) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา)
- พระเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2031 - พ.ศ. 2034) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา)
- พระอาทิตยวงศ์ (พระหน่อพุทธางกูร) (พ.ศ. 2034 - พ.ศ. 2072) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา)
- พระไชยราชา (พ.ศ. 2072 - พ.ศ. 2077) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา)
ราชวงศ์สุโขทัย
- พระมหาธรรมราชา (ขุนพิเรนทรเทพ) (พ.ศ. 2077 - พ.ศ. 2111) (เจ้าราชธานีฝ่ายเหนือ)
- พระนเรศวร (หลังเสด็จกลับจากหงสาวดี - พ.ศ. 2127) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา)
การจัดรูปแบบการปกครอง
1. การปกครองราชธานี กรุงสุโขทัยเป็นศูนย์กลางการปกครองในอาณาจักร
2. การปกครองส่วนภูมิภาค เป็นการปกครองเมืองต่าง ๆ ที่อยู่นอกเมืองหลวงออกไป
- พระมหาธรรมราชา (ขุนพิเรนทรเทพ) (พ.ศ. 2077 - พ.ศ. 2111) (เจ้าราชธานีฝ่ายเหนือ)
- พระนเรศวร (หลังเสด็จกลับจากหงสาวดี - พ.ศ. 2127) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา)
การจัดรูปแบบการปกครอง
1. การปกครองราชธานี กรุงสุโขทัยเป็นศูนย์กลางการปกครองในอาณาจักร
2. การปกครองส่วนภูมิภาค เป็นการปกครองเมืองต่าง ๆ ที่อยู่นอกเมืองหลวงออกไป
แบ่ง ออกเป็น 3 ประเภท
- หัวเมืองชั้นใน (เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่รอบ ราชธานี ทั้ง 4 ทิศ
- หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) อยู่ไกลจากราชธานีมากกว่าเมือง ลูกหลวง กษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือขุนนางชั้นสูงไปปกครองดูแลดินแดน
- หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ไกลราชธานีออกไปมาก เป็นเมืองของคน ต่างชาติ ต่างภาษา ที่อยู่ใต้การปกครองของสุโขทัย
- หัวเมืองชั้นใน (เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่รอบ ราชธานี ทั้ง 4 ทิศ
- หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) อยู่ไกลจากราชธานีมากกว่าเมือง ลูกหลวง กษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือขุนนางชั้นสูงไปปกครองดูแลดินแดน
- หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ไกลราชธานีออกไปมาก เป็นเมืองของคน ต่างชาติ ต่างภาษา ที่อยู่ใต้การปกครองของสุโขทัย
ในแนวราบ
จัดการปกครองแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือผู้ปกครองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความเป็นกันเองและความยุติธรรมกับประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนกับพ่อขุนโดยตรงได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูที่ประทับ ดังข้อความในศิลาจารึกปรากฏว่า "…ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งไว้ให้ ไพร่ฟ้าหน้าใส…" นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อแจ้งข้อร้องเรียนได้
ในแนวดิ่ง
ได้มีการจัดระบบการปกครองขึ้นเป็น 4 ชนชั้น คือ
- พ่อขุน เป็นชนชั้นผู้ปกครอง อาจเรียกชื่ออย่างอื่น เช่น เจ้าเมือง พระมหาธรรมราชา หากมีโอรสก็ จะเรียก "ลูกเจ้า"
- ลูกขุน เป็นข้าราชบริพาร ข้าราชการที่มีตำแหน่งหน้าที่ช่วงปกครองเมืองหลวง หัวเมืองใหญ่น้อย และภายในราชสำนัก เป็นกลุ่มคนที่ใกล้ชิดและได้รับการไว้วางใจจากเจ้าเมืองให้ปฏิบัติหน้าที่บำบัด ทุกข์บำรุงสุขแก่ไพร่ฟ้า
- ไพร่หรือสามัญชน ได้แก่ราษฎรทั่วไปที่อยู่ในราชอาณาจักร (ไพร่ฟ้า)
- ทาส ได้แก่ชนชั้นที่ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิตอย่างสามัญชนหรือไพร่ (อย่างไรก็ตามประเด็นทาส นี้ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่ามีหรือไม่)
จัดการปกครองแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือผู้ปกครองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความเป็นกันเองและความยุติธรรมกับประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนกับพ่อขุนโดยตรงได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูที่ประทับ ดังข้อความในศิลาจารึกปรากฏว่า "…ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งไว้ให้ ไพร่ฟ้าหน้าใส…" นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อแจ้งข้อร้องเรียนได้
ในแนวดิ่ง
ได้มีการจัดระบบการปกครองขึ้นเป็น 4 ชนชั้น คือ
- พ่อขุน เป็นชนชั้นผู้ปกครอง อาจเรียกชื่ออย่างอื่น เช่น เจ้าเมือง พระมหาธรรมราชา หากมีโอรสก็ จะเรียก "ลูกเจ้า"
- ลูกขุน เป็นข้าราชบริพาร ข้าราชการที่มีตำแหน่งหน้าที่ช่วงปกครองเมืองหลวง หัวเมืองใหญ่น้อย และภายในราชสำนัก เป็นกลุ่มคนที่ใกล้ชิดและได้รับการไว้วางใจจากเจ้าเมืองให้ปฏิบัติหน้าที่บำบัด ทุกข์บำรุงสุขแก่ไพร่ฟ้า
- ไพร่หรือสามัญชน ได้แก่ราษฎรทั่วไปที่อยู่ในราชอาณาจักร (ไพร่ฟ้า)
- ทาส ได้แก่ชนชั้นที่ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิตอย่างสามัญชนหรือไพร่ (อย่างไรก็ตามประเด็นทาส นี้ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่ามีหรือไม่)
สภาพเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ดังข้อความปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 "…ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า…" และ "...เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว..." ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้วยระบบการเกษตรแบบพึ่งพาธรรมชาติ เช่นสังคมไทยส่วนใหญ่ในชนบทปัจจุบัน
1. เกษตรกรรม การเพาะปลูกเป็นอาชีพหลักของประชาชน ประชาชนที่ดินทำกินเป็นของตนเอง มีระบบชลประทานเข้าช่วยในการทำการเกษตร
2. หัตถกรรม เครื่องสังคโลก เป็นสินค้าส่งออกไปขายยังต่างประเทศ
3. พาณิชยกรรม ระบบการค้าแบบเสรีไม่เก็บภาษี เงินตรา คือ เงินพดด้วง แบ่งออกเป็น สลึง บาท และตำลึง
ความเจริญทางศิลปวัฒนธรรม
๑.ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา เช่น ประเพณีการบวช ทอดกฐิน การ สร้างวัด เป็นต้น
๒.ศาสนา พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (หีนยาน) ลัทธิลังกาวงศ์ เป็นศาสนาประจำชาติ
๓.ศิลปกรรม ส่วนใหญ่สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนา สถาปัตยกรรมที่ สำคัญ คือ เจดีย์ทรงกลมตามแบบอย่างลังกา เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือดอกบัวตูม
๔.ภาษา และวรรณคดี พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 1826
การใช้ชีวิตของผู้คนในสมัยสุโขทัยมีความอิสรเสรี มีเสรีภาพอย่างมากเนื่องจากผู้ปกครองรัฐให้อิสระแก่ไพร่ฟ้า และปกครองผู้ใต้ปกครองแบบพ่อกับลูก ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกว่า "…ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน…"
ด้านความเชื่อและศาสนา สังคมยุคสุโขทัยประชาชนมีความเชื่อทั้งเรื่องวิญญาณนิยม (Animism) ไสยศาสตร์ ศาสนาพราหมณ์ฮินดู และพุทธศาสนา ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 3 ว่า "…เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎิวิหารปู่ครูอยู่ มีสรีดพงส์ มีป่าพร้าว ป่าลาง ป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขระพุงผี เทพยาดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ว ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยว เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย…"
ส่วนด้านศาสนา ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราช ในวันพระ จะมีภิกษุเทศนาสั่งสอน ณ ลานธรรมในสวนตาล โดยใช้พระแท่นมนังคศิลาอาสน์ เป็นอาสนะสงฆ์ ในการบรรยายธรรมให้ประชาชนฟัง ยังผลให้ประชาชนในยุคนี้นิยมปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม มีการถือศีล โอยทานกันเป็นปกติวิสัย ทำให้สังคมโดยรวมมีความสงบสุขร่มเย็น
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ความสัมพันธ์กับล้านนา และอาณาจักรพะเยา เป็นไมตรีกันตลอดมา
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรมอญ มอญสวามิภักดิ์ต่อสุโขทัย ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช เพราะทรงสนับสนุนมะกะโทราชบุตรเขยเป็นกษัตริย์
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรมอญ มอญสวามิภักดิ์ต่อสุโขทัย ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช เพราะทรงสนับสนุนมะกะโทราชบุตรเขยเป็นกษัตริย์
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรนครศรีธรรมราช สุโขทัยรับเอาพุทธศาสนา นิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ มาจากลังกา โดยผ่านเมืองนครศรีธรรมราช
ความสัมพันธ์กับลังกา สุโขทัยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับลังกา ลังกาได้ถวายพระ พุทธสิหิงค์แก่สุโขทัย
ความสัมพันธ์กับจีน สุโขทัยทำการค้ากับจีนมาเป็นเวลานาน จีนได้ส่งคณะทูตเข้ามา เจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ซึ่งเป็นประโยชน์กับไทยทั้งการเมือง และการค้า
ความเสื่อมของกรุงสุโขทัย
1. การแย่งชิงราชสมบัติระหว่างเชื้อพระวงศ์ของสุโขทัยทำให้อำนาจการปกครองอ่อนแอ ลง
2. พระมหากษัตริย์ของสุโขทัยสมัยต่อมา ทรงสนพระทัยทางด้านศาสนามากกว่าการ ป้องกันประเทศ
3. อาณาจักรอยุธยา สถาปนาขึ้นทางตอนใต้ มีความเข้มแข็งมากขึ้น จึงผนวกอาณาจักร สุโขทัยเป็นอาณาเขตเดียวกัน
การสิ้นสุดยุคอาณาจักร
พ.ศ. 2127 หลังจากชนะศึกที่แม่น้ำสะโตงแล้ว พระนเรศวรโปรดให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวง (ตาก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย พิษณุโลก กำแพงเพชร ชัยบุรี ศรีเทพ) ลงมาไว้ที่อยุธยา เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้ จึงสิ้นสุดการแบ่งแยกระหว่างชาวเมืองเหนือ กับชาวเมืองใต้ และถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐสุโขทัยโดยสมบูรณ์ เพราะหลังจากนี้ 8 ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ
ในด้านวิชาการ มีนักวิชาการหลายท่านได้เสนอเพิ่มว่า เหตุการณ์อีกประการ อันทำให้ต้องเทครัวเมืองเหนือทั้งปวงโดยเฉพาะพิษณุโลกนั้น อยู่ที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ บนรอยเลื่อนวังเจ้า ในราวพุทธศักราช 2127 แผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลให้ตัวเมืองพิษณุโลกราพณาสูญ แม้แต่แม่น้ำแควน้อย ก็เปลี่ยนเส้นทางไม่ผ่านเมืองพิษณุโลก แต่ไปบรรจบกับแม่น้ำโพ (ปัจจุบันคือแม่น้ำน่าน) ที่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไป และยังส่งผลให้พระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก หักพังทลายในลักษณะที่บูรณะคืนได้ยาก ในการฟื้นฟูจึงกลายเป็นการสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาครอบทับลงไปแทน
ความสัมพันธ์กับลังกา สุโขทัยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับลังกา ลังกาได้ถวายพระ พุทธสิหิงค์แก่สุโขทัย
ความสัมพันธ์กับจีน สุโขทัยทำการค้ากับจีนมาเป็นเวลานาน จีนได้ส่งคณะทูตเข้ามา เจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ซึ่งเป็นประโยชน์กับไทยทั้งการเมือง และการค้า
ความเสื่อมของกรุงสุโขทัย
1. การแย่งชิงราชสมบัติระหว่างเชื้อพระวงศ์ของสุโขทัยทำให้อำนาจการปกครองอ่อนแอ ลง
2. พระมหากษัตริย์ของสุโขทัยสมัยต่อมา ทรงสนพระทัยทางด้านศาสนามากกว่าการ ป้องกันประเทศ
3. อาณาจักรอยุธยา สถาปนาขึ้นทางตอนใต้ มีความเข้มแข็งมากขึ้น จึงผนวกอาณาจักร สุโขทัยเป็นอาณาเขตเดียวกัน
การสิ้นสุดยุคอาณาจักร
พ.ศ. 2127 หลังจากชนะศึกที่แม่น้ำสะโตงแล้ว พระนเรศวรโปรดให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวง (ตาก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย พิษณุโลก กำแพงเพชร ชัยบุรี ศรีเทพ) ลงมาไว้ที่อยุธยา เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้ จึงสิ้นสุดการแบ่งแยกระหว่างชาวเมืองเหนือ กับชาวเมืองใต้ และถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐสุโขทัยโดยสมบูรณ์ เพราะหลังจากนี้ 8 ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ
ในด้านวิชาการ มีนักวิชาการหลายท่านได้เสนอเพิ่มว่า เหตุการณ์อีกประการ อันทำให้ต้องเทครัวเมืองเหนือทั้งปวงโดยเฉพาะพิษณุโลกนั้น อยู่ที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ บนรอยเลื่อนวังเจ้า ในราวพุทธศักราช 2127 แผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลให้ตัวเมืองพิษณุโลกราพณาสูญ แม้แต่แม่น้ำแควน้อย ก็เปลี่ยนเส้นทางไม่ผ่านเมืองพิษณุโลก แต่ไปบรรจบกับแม่น้ำโพ (ปัจจุบันคือแม่น้ำน่าน) ที่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไป และยังส่งผลให้พระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก หักพังทลายในลักษณะที่บูรณะคืนได้ยาก ในการฟื้นฟูจึงกลายเป็นการสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาครอบทับลงไปแทน
1 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
ตอบลบ