การเมืองการปกครอง
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ แบ่งกว้าง ๆ เป็น 2 ระยะ คือ
1. สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้แก่
ช่วงที่ 1 การปกครองสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงต้นรัชกาลที่ 5 (ก่อนการปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. 2435)
ช่วงที่ 2 การปกครองสมัดรัขกาลที่ 5 (หลังจากการปฏิรูปด้านการปกครอง) ถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัชกาลที่ 7
2. สมัยประชาธิปไตย นับช่วงระยะเวลาตั้งแต่มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน
หากศึกษาในแง่ของการพัฒนาบ้านเมือง และการรับวัฒนธรรมทางตะวันตกมาผสมผสานในการบริหารประเทศชาติแล้ว สามารถศึกษาได้ ดังนี้
(1) การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ ช่วงเวลาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงของการฟื้นฟูบูรณะบ้านเมืองให้กลับสหู่สภาพเดิม เหมือนสมัยอยุธยาก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 ซึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้มีการจัดการปกครองตามแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย ดังนี้
1. การปกครองส่วนกลาง (ราชธานี) บริหารราชการแผ่นดินแบบจตุสดมภ์ มี 4 ตำแหน่ง ดังนี้
- กรมเวียง (นครบาล) ปกครองดูแลประชาชนในเขตเมืองที่ตนรับผิดชอบ ปราบปรามโจรผู้ร้าย รักษาความสงบในเขตพระนคร
- กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) ดูแลความเรียบร้อยและกิจการเกี่ยวกับพระราชสำนัก พิจารณาคดีต่าง ๆ ที่มีฎีกาขึ้นสู่องค์พระมหากษัตริย์
- กรมคลัง (โกษาธิบดี) ดูแลรายได้ส่วนพระราชาทรัพย์และรายได้แผ่นดิน เช่น เก็บส่วย ภาษี อากร ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
- กรมนา (เกษตราธิการ) จัดทำนาหลวง ดูแลการทำไร่นาของราษฎร จัดเก็บภาษีเป็นข้าว เรียกว่า เก็บหางข้าวไว้ใช้ในยามศึกสงคราม
การบริหารราชการแผ่นดินนอกจากมีจตุสดมภ์แล้ว ยังมีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหพระกลาโหม และสมุหนายก เป็นการแบ่งข้าราชการเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน
เรื่องเก่า - น่ารู้
ตำนานสมุหพระกลาโหม เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นผู้ควบคุมกองทัพ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาก็เคยดำรงตำแหน่งนี้ในสมัยที่เป็นขุนนาง ก่อนล้มราชวงศ์เดิมแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่
ในสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม เช่น
- สมเด็จพระเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)
- สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
- เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
2. การปกครองส่วนภูมิภาค (หัวเมืองภายในพระราชอาณาจักร) มีการแบ่งการปกครองหัวเมืองออกเป็ 3 ส่วน เหมือนสมัยอยุธยา
- หัวเมืองชสั้นใน เมืองที่อยู่รายรอบราชธานี จัดเป็นเมืองจัตวา มีหัวหน้าปกครอง เรียกว่าผู้รั้งเมืองหรือจ่าเมือง
- หัวเมืองชั้นนอก เมืองพระยามหานคร ได้แก่ เมืองซึ่งอยู่ห่างจากราชธานีออกไป คือ หัวเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองหลวง พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์ หรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไปเป็นเจ้าเมืองปกครอง
- หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองชายแดนของต่างชาติ ต่างภาษามีฐานะเป็นเมืองประเทศราช เช่น ญวน เขมร เวียงจันทน์ หลวงพระบาง เป็นต้น สำหรับเจ้าเมืองนั้นได้รับการแต่งตั้งจากเมืองหลวงเรียกว่า เจ้าประเทศราช ซึ่งอาจแต่งตั้งไปจากเมืองหลวงหรือเชื้อพระวงศ์ในหัวเมืองนั้น ๆ เอง โดยให้สิทธิในการจัดการปกครองภายในแก่เจ้าประเทศราช ยกเว้นหากเกิดความไม่สงบภายในทางเมืองหลวงอาจเข้าแทรกได้
(2) ยุคปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตก (พ.ศ. 2394 - 2475) จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เป็นช่วงระยะเวลาของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และปฏิรูปบ้านเมือง ให้พ้นจากเป็นอาณานิคมของตะวันตกที่กำลังขยายอำนาจ และอิทธิพลเข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เนื่องด้วยพระมหากษัตริย์ไทย ทรงมีพระปรีชาสามารถ จึงสามารถดำรงเอกราชของประเทศไทยไว้ได้ ซึ่งเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่คงเอกราชไว้ได้ ซึ่งภารกิจในยุคปรับปรุงประเทศของพระมหากษัตริย์ไทย มีตัวอย่างที่ควรทราบ ดังนี้
1. สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)
พระองค์ยังคงทรงปกครองตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และคงรูปแบบการบริหารประเทศเหมือนเดิม แต่พระองค์ได้พยายามพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมอารยประเทศ โดยเปิดสัมพันธไมตรียอมรับวัฒนธรรมตะวันตก อีกทั้งทรงเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกประเพณีบางอย่าง เพื่อให้สอดคล้องวัฒนธรรมตะวันตกที่แพร่เข้ามาในประเทศ เช่น
1.1 ยกเลิกประเพณีการหมอบคลานขณะเข้าเฝ้า และการไม่สวมเสื้อขณะเข้าเฝ้า
1.2 ยกเลิกธรรมเนียมไทยแต่โบราณ ที่ห้ามราษฎรแสดงตัวหรือแอบมองในเวลาเสด็จออกนอกพระราชวัง
1.3 โปรดให้ราษฎรหญิงชายเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิดและยื่นฎีกาเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ได้
1.4 ให้ราษฎรไทยมีสิทธิเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้
1.5 นำชาวต่างชาติมาสอนหนังสือให้แก่พระราชโอรส พระราชธิดา ข้าราชการ เพื่อให้มีความรู้วิทยาการต่าง ๆ เท่าทันประเทศตะวันตก
2. สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5)
พระองค์ได้เสด็จประพาสประเทศต่าง ๆในทวีปเอเชียและยุโรป ได้เห็นความเจริญของประเทศต่าง ๆ ซึ่งได้นำมาปฏิรูปการปกครอง และการบริหารทุกด้าน ตั้งแต่การปกครอง การศึกษา กฎหมาย การศาล การสาธารณสุข การคมนาคม เป็นต้น งานที่สำคัญาในลำดับที่พระองค์เริ่มปฏิรูปก่อนงานอื่น ๆ คือ งานด้านบริหาร และงานด้านนิติบัญญัติ โดยได้ทรงดำเนินการ ดังนี้
2.1 การปกครองส่วนกลาง
(1) จัดตั้งสภาที่รปรึกษาเพื่อเช่วยในการบริหารราชการแผ่นดิน คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์
(2) ทรงประกาศเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์ เปลี่ยนการบริหารมาเป็นกระทรงต่าง ๆเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 โดยจัดแบ่งอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวงอย่างชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อนกัน
ปัจจุบันประเทศไทยแบ่งการปกครองส่วนกลางออกเป็น 19 กระทรวง
1. กลาโหม 2. การคลัง 3. คมนาคม
4. ต่างประเทศ 5. พาณิชย์ 6. มหาดไทย
7. ศึกษาธิการ 8. สาธารณสุข 9. อุตสาหกรรม
10. ยุติธรรม 11. วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
12. เกษตรและสหกรณ์ 13. แรงงานและสวัสดิการสังคม 14. การท่องเที่ยวและกีฬา
15. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 16. วัฒนธรรม
17. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 18. พลังงาน
19. การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2.2 การปกครองส่วนภูมิภาค
มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบหัวเมืองมาเป็นแบบเทศาภิบาล โดยรวมหัวเมืองหลายเมืองเข้ามาเป็นมณฑล แต่ละมณฑลมีสมุหเทศาภืบาลเป็นผู้ปกครอง ซึ่งขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้แต่ละเมืองยังแบ่งเขตการปกครองเป็นอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
2.3 การปกครองส่วนท้องถิ่น
พระองค์ได้ทรงส่งเสริมและทดลองให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยทรงริเริ่มจัดการสุขาภิบาลในเขตกรุงเทพ ฯ และตำบลท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร โดยทรงริเริ่มให้ราษฎรเลือกผู้ใหญ่บ้านเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2435 แล้วให้ผู้ใหญ่บ้านเลือกกำนัน โดยเริ่มที่อำเภอบางปะอิน เมืองพระนครศรีอยุธยา
จะเห็นได้ว่า การปฏิรูปการปกครองนี้ เป็นการรวมอำนาจการปกครองมาไว้ที่ส่วนกลางอย่างมีระบบ ทำให้พระมหากษัตริย์ไทยมีอำนาจการปกครองประเทศอย่างมาก
การปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในปัจจุบัน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น ซึ่งประชาชนมีสิทธิเลือกผู้บริหารได้โดยตรง นับเป็นประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่นที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก
3. สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 6)
พระองค์ทรงโปรดให้รวมมณฑลหลาย ๆ มณฑลเข้าเป็นแต่ละภาคมีอุปราชปกครอง ตำแหน่งอุปราชและสมุหเทศาภิบาลขึ้นตรงต่อพระองค์ ส่วนกรุงเทพ ฯ นั้น มีฐานะเหมือนกับมณฑลหนึ่ง โดยมีสมุหพระนครบาลปกครองขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย พระองค์โปรด ฯ ให้เรียกชื่อ "จังหวัด" แทนคำว่า "เมือง" และทรงขยายมณฑลเพิ่มเติมอีก
นอกจากนี้ พระองค์โปรด ฯ ให้จัดตั้ง "ดุสิตธานี" ขึ้นในบริเวณเขตพระราชวังดุสิต เพื่อทดลองสร้างเมืองจำลองการปกครองแบบประชาธิปไตย
4. สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)
พระองค์ทรงมีพระดำริพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน แต่ได้มีกลุ่มผู้มีความคิดก้าวหน้าในนามของ "คณะราษฎร" ซึ่งมีพระยาพหลพยุหเสนา เป็นผู้ได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นอันสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
0 ความคิดเห็น